รับขออนุญาตประกอบโลหกรรม

บริการขออนุญาตประกอบโลหกรรม / วิศวกรควบคุมประกอบโลหกรรม

รับขออนุญาตประกอบโลหกรรม และ รับงานเป็น วิศวกรควบคุมประกอบโลหกรรม

การประกอบโลหกรรมที่อยู่ในความควบคุม พ.ศ. 2560

ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การประกอบโลหกรรม ที่อยู่ในความควบคุม พ.ศ. 2560”

ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 3 การประกอบโลหกรรมที่อยู่ในความควบคุม ได้แก่ (1) การประกอบโลหกรรมแร่ทุกชนิดโดยวิธีการถลุงแร่ รวมถึงการทำแร่หรือสารละลาย ที่ได้จากแร่โลหะให้เป็นโลหะหรือสารประกอบโลหะด้วยวิธีอื่นใด (2) การผลิตเหล็กกล้าด้วยวิธีการถลุง หลอม หล่อ (3) การหลอมตะกั่วจากแบตเตอรี่เก่า ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีปริมาณการผลิตเท่าใด ข้อ 4 ผู้ประกอบโลหกรรมในส่วนราชการและสถาบันการศึกษาของรัฐ ให้ได้รับการยกเว้นไม่อยู่ในความควบคุม . . .

1. การขอใบอนุญาตประกอบโลหกรรม

1.1 คุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอใบอนุญาตประกอบโลหกรรม
1) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
2) มีภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
3) เป็นสมาชิกสภาการเหมืองแร่
4) ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ บุคคลไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
5) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
6) ไม่เคยถูกยกคำขอหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต เว้นแต่การยกคำขอหรือการเพิกถอนนั้นพ้นกำหนดสิบสองเดือนแล้ว นับแต่วันมีคำสั่งยกคำขอหรือเพิกถอนครั้งสุดท้าย หรือเว้นแต่การยกคำขอหรือการเพิกถอนนั้นมิใช่ความผิดของผู้ยื่นคำขอหรือผู้ถูกเพิกถอน

ในกรณีนิติบุคคลเป็นผู้รับใบอนุญาต นิติบุคคลนั้นต้องมีคุณสมบัติตาม 2,3,5,6

1.2 หลักฐานประกอบการยื่นขอใบอนุญาตประกอบโลหกรรม

- กรณีบุคคลธรรมดา เอกสารที่ใช้ประกอบคำขอใบอนุญาตฯ มีดังนี้
1) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
2) สำเนาทะเบียนบ้าน
3) สำเนาหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกสภาการเหมืองแร่
4) สำเนาหลักฐานการมีสิทธิใช้สถานที่ในกรณีที่ดินมิใช่ของผู้ขอ
5) แผนที่แสดงเขตที่จะขอให้เป็นเขตโลหกรรม
6) แผนผังและกรรมวิธีประกอบโลหกรรม
7) รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
8) หนังสือแต่งตั้งวิศวกรควบคุม (รับงานเป็น วิศวกรควบคุมประกอบโลหกรรม)
9) หนังสือยินยอมเป็นวิศวกรควบคุม (รับงานเป็น วิศวกรควบคุมประกอบโลหกรรม)

- กรณีนิติบุคคล เอกสารที่ใช้ประกอบการขอใบอนุญาตฯ มีดังนี้
1) สำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนนิติบุคคล
2) สำเนาหนังสือรับรองนายทะเบียนหุ้นบริษัทแสดงกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม (สำเนาหนังสือรับรองต้องไม่เกิน 6 เดือน ในกรณีต่างปี พ.ศ. กัน)
3) สำเนาหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกสภาการเหมืองแร่
4) สำเนาหลักฐานการมีสิทธิใช้สถานที่ในกรณีที่ดินมิใช่ของผู้ขอ
5) แผนที่แสดงเขตที่จะขอให้เป็นเขตโลหกรรม
6) แผนผังและกรรมวิธีประกอบโลหกรรม
7) รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
8) หนังสือแต่งตั้งวิศวกรควบคุม (รับงานเป็น วิศวกรควบคุมประกอบโลหกรรม)
9) หนังสือยินยอมเป็นวิศวกรควบคุม (รับงานเป็น วิศวกรควบคุมประกอบโลหกรรม)

หมายเหตุ
- อุตสาหกรรมเหล็กและ/หรือเหล็กกล้าที่มีกำลังการผลิตตั้งแต่ 100 ตัน ต่อวันขึ้นไป (กำลังการผลิตให้คำนวณโดยใช้กำลังของเตาเป็นตันต่อชั่วโมง คูณด้วย 24 ชั่วโมง)
- อุตสาหกรรมถลุงแร่หรือหลอมโลหะซึ่งมิใช่อุตสาหกรรมเหล็กหรือเหล็กกล้าที่มีกำลังการผลิต 50 ตันต่อวันขึ้นไป

1.3 การจัดทำแผนผังและกรรมวิธีประกอบโลหกรรม
สำนักอุตสาหกรรมพื้นฐานจะพิจารณาเอกสารประกอบการขออนุญาตประกอบโลหกรรม โดยเอกสารดังกล่าวที่ผู้ขอใบอนุญาตต้องจัดทำเป็นแผนผังและกรรมวิธีประกอบโลหกรรม ให้มีขั้นตอนการจัดเอกสารเป็นหมวดหมู่ ดังนี้

1) เอกสารหมายเลข 1 ให้มีรายละเอียด ดังนี้
ก. ชื่อผู้ขอรับใบอนุญาต
ข้าพเจ้า นาย/นาง/นางสาว…………………………………………………………………….อายุ…………..
ปี สัญชาติ……………..อยู่บ้าน/สำนักงานเลขที่……………………………..หมู่ที่ ………………………….
ตรอก/ซอย………………………………………………ถนน…………………………………………………………….
ตำบล/แขวง……………………………………………..อำเภอ/เขต………………………………………………..
จังหวัด………………………………………………….โทรศัพท์……………………โทรสาร………………………..

ข. ชื่อโรงงาน
ชื่อโรงงาน…………………………………………………………………….…………..
สถานที่ตั้งเลขที่………………………หมู่ที่…………….ตรอก/ซอย……………………………………………..
ถนน…………………………………………………ตำบล/แขวง………………………………………………………….
เขต/อำเภอ…………………………………………..จังหวัด…………………………………………………………….
โทรศัพท์………………………………..โทรสาร……………………………….
พื้นที่เขตประกอบโลหกรรม……………..ไร่………………งาน…………………ตารางวา
มีอาณาเขต ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อ…………………………………………………………………….
- ทิศใต้ ติดต่อ…………………………………………………………………….
- ทิศตะวันออก ติดต่อ…………………………………………………………………….
- ทิศตะวันตก ติดต่อ…………………………………………………………………….

ค. กรรมวิธีประกอบโลหกรรม ให้ระบุถึงวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งที่ใช้ในการประกอบโลหกรรม หรือหลายวิธีดังต่อไปนี้
- วิธีการที่ใช้ความร้อน (Pyrometallurgical Process)
- วิธีการที่ใช้สารละลายเคมี แล้วแยกโลหะออกมาหรือนำโลหะตกตะกอน (Hydrometallurgical Process)
- วิธีการอย่างอื่นที่อธิบดีเห็นชอบ

ง. แร่เชื้อเพลิง และวัตถุดิบอย่างอื่นที่ใช้ในการประกอบโลหกรรม ให้ระบุปริมาณแร่เชื้อเพลิง และวัตถุดิบทุกชนิดที่ใช้ในการประกอบโลหกรรมต่อวัน พร้อมระบุแหล่งที่มา รายละเอียด ดังนี้
วัตถุดิบ           ปริมาณการใช้/วัน           แหล่งที่ (ระบุประเทศ)
1. …………………………………….………………………………….………………………………………………….…………
2. …………………………………….………………………………….………………………………………………….…………

จ. กรรมวิธีการบำบัดน้ำเสียและป้องกันหรือกำจัดฝุ่นละอองและสิ่งมีพิษที่เกิดจากการประกอบโลหกรรม โดยให้บรรยายขั้นตอนของกรรมวิธีต่างๆ ในแต่ละระบบโดยละเอียดพร้อมแสดง Flow Sheet และแบบแปลนทางวิศวกรรม (กระดาษขนาด A2-A0) ที่ชัดเจนประกอบการอธิบาย

ฉ. ปริมาณการผลิตต่อวัน ให้ระบุถึงปริมาณของผลิตภัณฑ์ทั้งผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป (Product) และกึ่งสำเร็จรูป (Semi-Product) ที่สามารถผลิตได้ต่อวัน

2) เอกสารหมายเลข 2 ให้บรรยายขั้นตอนของกรรมวิธีประกอบโลหกรรมที่ใช้โดยละเอียด พร้อมแผนผังกรรมวิธี (Flow Sheet) ประกอบการบรรยาย

3) เอกสารหมายเลข 3 ให้ระบุรายการเครื่องจักรอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการประกอบโลหกรรม โดยจัดทำเป็นตารางแสดงบัญชีรายการเครื่องจักรอุปกรณ์ พร้อมแสดงแบบแปลนทางวิศวกรรมของเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ระบุในบัญชีรายการ เช่น เตาหลอม เตาถลุง อุปกรณ์กำจัด/ป้องกันฝุ่นควัน อุปกรณ์บำบัดน้ำเสีย เครื่องหล่อโลหะ เป็นต้น (กระดาษขนาด A3-A0) ให้มีแบบฟอร์ม ดังนี้

4) เอกสารหมายเลข 4 เป็นแผนผังแสดงที่ตั้งเตาถลุง เตาหลอม เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบโลหกรรม โดยให้เขียนแผนผังแสดงตำแหน่งที่ตั้งของเตาถลุง เตาหลอม เครื่องจักร และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบโลหกรรม (ควรเป็นแบบแปลนทางวิศวกรรมที่ใช้กระดาษขนาด A0 มีมาตราส่วนและแสดงรายละเอียดที่ชัดเจน)

5) เอกสารหมายเลข 5 เป็นแผนผังมาตราส่วนแสดงที่ตั้ง สถานที่ประกอบโลหกรรมเขตโลหกรรม ถนนและระยะทางจากถนนสายประธาน และบริเวณใกล้เคียง (ควรเป็นแบบแปลนที่ใช้กระดาษขนาด A3-A0 มีมาตราส่วนและแสดงรายละเอียดที่ชัดเจน)

1.4 ขั้นตอนการขอใบอนุญาตประกอบโลหกรรม
1) ผู้ขอใบอนุญาตประกอบโลหกรรมทั้งกรณีบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ยื่นคำขอพร้อมหลักฐานประกอบการขอใบอนุญาตฯ จำนวน 3 ชุด ต่อเจ้าพนักงานอุตสาหกรรมแร่ประจำท้องที่

2) เจ้าหน้าที่พิจารณาตรวจสอบหลักฐาน ถูกต้องครบถ้วนแล้วลงรับคำขอลงในทะเบียนรับหนังสือทั่วไป พร้อมเก็บเงินค่าคำขอและเงินค่าธรรมเนียมล่วงหน้า และเสนอคำขอต่อฝ่าย อุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เพื่อรับจดทะเบียนคำขอไว้ดำเนินการ

3) ทรัพยากรธรณีประจำท้องที่นัดผู้ขอเพื่อตรวจสอบ
    3.1 สภาพที่ดินพร้อมทำการรังวัดกำหนดเขตโลหกรรม
    3.2 ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในบริเวณใกล้เคียง

4) เมื่อตรวจสอบเกี่ยวกับเขตโลหกรรมถูกต้องแล้ว เจ้าพนักงานอุตสาหกรรมแร่ประจำท้องที่ส่งคำขอใบอนุญาตประกอบโลหกรรมพร้อมหลักฐานประกอบการขอใบอนุญาตทั้ง 3 ชุด ให้ สำนักอุตสาหกรรมพื้นฐาน เพื่อพิจารณาการขอใบอนุญาตประกอบโลหกรรม

5) สำนักอุตสาหกรรมพื้นฐานทำการตรวจสอบเอกสารพร้อมพิจารณาการขออนุญาตประกอบโลหกรรมแล้วถูกต้อง และสมควรอนุญาต จะเสนออธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่เพื่อพิจารณาลงนามในใบอนุญาตประกอบโลหกรรมพร้อมคู่ฉบับและสำเนารวม 3 ฉบับ

6) เมื่อผู้ยื่นขอได้จัดทำแผนผังและกรรมวิธีประกอบโลหกรรมเรียบร้อยแล้ว ให้ผู้ยื่นแผนผังและกรรมวิธีประกอบโลหกรรม วิศวกรผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตาม พ.ร.บ. วิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ.2505 พร้อมกับระบุประเภทของวิศวกรสาขางานวิศวกรรมและหมายเลขใบอนุญาตร่วมกันลงชื่อในเอกสารต่างๆ ให้ครบถ้วน