รับจดทะเบียนเครื่องจักร

รับจดทะเบียนเครื่องจักร

จดทะเบียนเครื่องจักรแล้วได้ประโยขน์อะไร?

ได้รับเงินทุนหมุนเวียนและเครื่องจักรใหม่ ผู้ประกอบการที่นำเครื่องจักรมาจดทะเบียนกรรมสิทธิ์สามารถนำไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันกับสถาบันการเงินเพื่อได้รับเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ

ได้รับสิทธิพิเศษด้านการเงิน ผู้ประกอบการจะได้วงเงินกู้รายละไม่เกิน 15 ล้านบาท โดยกู้ได้สูงสุดถึง 90% ของใบสั่งซื้อเครื่องจักร ดอกเบี้ย 4% ต่อปีตลอดอายุสัญญาและผ่อนนานถึง 7 ปี

ได้รับการยกเว้นภาษี ผู้ประกอบการจะได้ยกเว้นอากรขาเข้าของเครื่องจักรและยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี เป็นสัดส่วนร้อยละ 50 ของเงินทุนโดยไม่รวมค่าที่ดิน

ได้รับ Fast Track จดทะเบียน ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการสามารถยื่นคำขอจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรผ่านช่องทางพิเศษสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ภายใน 3 วัน

ได้รับคำแนะนำ ผู้ประกอบการจะได้รับคำปรึกษาในการปรับเปลี่ยนเครื่องจักร อุปกรณ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตจากทีมที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์



หลักการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร

1. เจ้าของเครื่องจักรเท่านั้นที่มีสิทธิ์ในการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร
2. ยื่นคำขอพร้อมเอกสารหลักฐาน ต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานทะเบียนเครื่องจักรกลางหรือสำนักงานทะเบียนเครื่องจักรประจำจังหวัด ที่เครื่องจักรนั้นตั้งอยู่

ขั้นตอนการจดทะเบียนเครื่องจักร

1. ยื่นคำขอจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร
2. ตรวจเครื่องจักร เอกสารหลักฐาน
3. ประกาศ 5 วัน (นับจากวัน นายทะเบียนอนุมัติ)
4. ชำระค่าธรรมเนียม
5. ติดแผ่นป้ายหมายเลขทะเบียน
6. ออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องจักร
7. ผู้ถือกรรมสิทธิ์รับหนังสือสำคัญฯ ณ สำนักงานทะเบียนเครื่องจักรที่ยื่นขอ

ประเภทเครื่องจักร และ ประเภทอุตสาหกรรม ที่สามารถ นำเครื่องจักรมาจดทะเบียนได้

ให้เครื่องจักรตามบัญชี 1 ท้ายกฎกระทรวง สำหรับใช้ในกิจการอุตสาหกรรม
ตามบัญชี2 เป็นเครื่องจักรที่จะจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ได้ แม้จะเป็นเครื่องจักรที่ยังมิได้ติดตั้งหรือ ติดตั้งแล้วแต่ยังมิได้ใช้งาน

เอกสารหลักฐานประกอบคำขอจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร

1. คำขอจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร(อ.1/1) ดาวน์โหลดเอกสารฟรี ใช้ยื่นพร้อมกัน จำนวน 3 ฉบับ ( หนังสือคำรับรองกรรมสิทธิ์ ใช้ 1 ฉบับ) เครื่องจักรตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นเอกสารหลักฐานข้อ 2 – 12 จำนวน 2 ชุด

2. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์จาก กระทรวงพานิชย์ออกให้ไม่เกิน 3 เดือน นับถึงวันรับคำขอ (ใช้กรณีเจ้าของเป็นนิติบุคคล)
    2.1. และสำเนาหนังสือรับรองตราประทับจากกระทรวงพาณิชย์

3. สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ลงนามในคำขอ

4. หนังสือมอบอำนาจ [แบบที่ 1: PDF / DOC ] [ แบบที่ 2: PDF / DOC ] ติดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมสำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนา บัตรประจำตัวประชาชนของ ผู้รับมอบอำนาจ (ใช้กรณีตั้งตัวแทน)

5. เอกสารแสดงรายละเอียดเครื่องจักรตามผังวางเครื่องจักร DIW-07-LC-FR-02 (01) พร้อมการลงนามรับรองโดยวิศวกรควบคุม

6. แบบรายการแสดงราคาเครื่องจักร DIW-07-AP-FG-01 (01) พร้อมการลงนามรับรองโดยวิศวกรควบคุม

7. แผนที่สังเขปแสดงที่ตั้งโรงงานหรืออาคารที่เครื่องจักรตั้งอยู่(อยู่ในคำขอ)

8. ผังวางเครื่องจักร แสดงการติดตั้งเครื่องจักร ถูกมาตราส่วนพร้อมลงนามรับรองโดยวิศวกรควบคุม

9. สำเนาเอกสาร/ใบอนุญาตของทางราชการที่ระบุรายละเอียดของสถานที่ตั้งเครื่องจักร และประเภทกิจการ หรือ กิจการอุตสาหกรรม เช่น ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ใช้กรณีสถานประกอบการที่เข้าข่ายเป็นโรงงานที่ต้องมีใบอนูญาตประกอบกิจการโรงงาน) ใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล ใบทะเบียนการค้า ฯลฯ

10. หนังสือยินยอมให้ติดตั้งเครื่องจักร ( ใช้กรณีเครื่องจักรติดตั้งไว้ที่ สถานประกอบการของผู้อื่น)
    10.1 สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลฉบับปีปัจจุบัน จากกระทรวงพาณิชย์ ของผู้ยินยอมให้ตั้งเครื่องจักร
    10.2 สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ลงนามใน หนังสือยินยอมให้ตั้งเครื่องจักร

11. รูปถ่ายเครื่องจักร ให้มีขนาด 10 ซม. x 15 ซม. แสดงด้านหน้า ด้านข้าง และอัดล้างภาพจากร้านถ่ายรูปหรือให้ใช้กระดาษพิมพ์ภาพ(Photo Glossy aper) เท่านั้น

12. หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ของเครื่องจักร เช่น กรณีเครื่องจักรที่ซื้อในประเทศไทยใช้ใบเสร็จรับเงิน เครื่องจักรที่ซื้อจากต่างประเทศใช้ INVOICE ใบขนสินค้าขาเข้าจากกรมศูลกากร

13. สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ใบ กว.) ของวิศวกรที่ลงนาม ระดับภาคีวิศวกร (เครื่องกล หรืออุตสาหการ) ขึ้นไป